นนี้วันอะไร 9 มิถุนายน “วันอานันทมหิดล” อีกหนึ่งวันสำคัญของคนไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อน้อมระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และด้วยความสำนึกในพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำริให้จัดงานน้อมระลึกพระองค์ท่านในวันนี้ของทุกปี
ประวัติ วันอานันทมหิดล วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 8
“วันอานันทมหิดล” ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยในวันนี้ จะมีกิจกรรม พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก และกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาวิชาการ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 8
พระราชประวัติรัชกาลที่ 8 เนื่องในวันวันอานันทมหิดล ทีมงาน The Thaiger จะขอพาผู้อ่านทุกท่านย้อนศึกษาพระราชประวัติของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลที่ทรงมีพระมหากรุณาที่คุณต่อชาวไทยมากมาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี
จากนั้นพระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กระทั่งเกิดเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในเวลานั้น ต้องเสด็จไปประทับ ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ก่อนจะย้ายไปที่โรงเรียนนูแวลเดอลา ซูวิสโรมองต์ในเวลาต่อมา
ภายหลังการกลับมาขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระชันษาเพียง 9 ปี เท่านั้น จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียง 12 ปี ก็เสด็จสวรรคตขณะทรงอายุ 20 พรรษา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ที่ได้สร้างไว้มากมายแก่ปวงชนชาวไทยจนเป็นรากฐานสำคัญต่าง ๆ ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา การศึกษา และในการการพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 พระองค์ได้มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น สำหรับการช่วยเหลือประชาชนให้ทั่วถึงทั่วราชอาณาจักร และทรงได้ก่อตั้ง โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย หรือก็คือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
รมว. ยุติธรรม สั่งการเตรียมพร้อม ปล่อยนักโทษ คดีกัญชา หลังปลดล็อค 9 มิ.ย. นี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำการสั่งการให้เตรียมความพร้อมในการปล่อยตัวนักโทษ คดีกัญชา หลังปลดล็อคกัญชามีผลบังคับใช้ 9 มิ.ย. นี้ คดีกัญชา – วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่กระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม อธิบดีกรมต่างๆ และผู้บริหาร เข้าร่วมการประชุม
โดยนายสมศักดิ์ ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า เมื่อวาน คณะรัฐมนตรี ได้มีการพูดคุยถึงการปลดล็อคกัญชา ที่จะมีผลวันที่ 9 มิ.ย.นี้ แต่จะต้องมีกฎหมายรอง ในการบังคับใช้ด้วย ดังนั้น ที่ประชุมได้ขอให้ทุกหน่วยงานเตรียมพร้อมหลังปลดล็อคกัญชาด้วย ซึ่งในส่วนของกระทรวงยุติธรรม ก็จะเกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังในคดีกัญชา ที่ต้องปล่อยตัวกว่า 4 พันคนทันที
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า กรมราชทัณฑ์ ได้รายงานตัวเลขจำนวนผู้ต้องขังที่มีความผิดเกี่ยวกับกัญชา จำนวน 4,075 ราย แบ่งเป็น มีความผิดเกี่ยวกับคดีกัญชาคดีเดียว 3,071 ราย มีความผิดฐานอื่นด้วย 1,004 ราย โดยนักโทษเด็ดขาด และผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเกี่ยวกับกัญชาคดีเดียว ศาลจะปล่อยตัว และพิพากษายกฟ้อง ส่วนที่มีฐานความผิดอื่นด้วย จะไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ แต่ศาลจะแก้ไขยกเลิกโทษที่เกี่ยวกับคดีกัญชาให้
รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ กรมราชทัณฑ์ ได้ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ เร่งทำคำร้องให้ผู้ต้องขัง ที่เกี่ยวกับคดีกัญชา ให้ศาลพิจารณา เพื่อศาลจะได้ออกหมายปล่อยตัว ทั้งคดีเด็ดขาด และไม่เด็ดขาด โดยคดีที่เด็ดขาด ก็จะต้องปล่อยตัว ส่วนที่ยังไม่เด็ดขาด ก็จะต้องยกฟ้อง
ซึ่งขณะนี้ หลายเรือนจำมีความพร้อมในเรื่องการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่เกี่ยวกับคดีกัญชา ในวันพรุ่งนี้แล้ว โดยส่วนใหญ่ จะได้รับการปล่อยตัวทันที ซึ่งผู้ต้องขัง ได้รู้ตัวล่วงหน้าแล้วทุกคน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป